top of page

        พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 ได้กล่าวถึงระบบการศึกษาว่าการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

pngegg - 2023-02-20T140036.744.png

        1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน

        2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม 
        3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ

 

การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา

pngegg - 2023-03-13T154110.699.png

1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน

           1.1 การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา โดยปกติเป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุสามปีถึงหกปี เพื่อเป็นการวางรากฐานชีวิตและการเตรียมความพร้อมของเด็ก ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ บุคลิกภาพ และการอยู่ร่วมกันในสังคม
           
1.2 การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาภาคบังคับที่มุ่งวางรากฐานเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งในด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ และความสามารถขั้นพื้นฐาน โดยปกติใช้เวลาเรียนหกปี
           
1.3 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ ดังนี้
                 (ก) การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการศึกษาภาคบังคับที่มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่าง ๆ ต่อจากระดับประถมศึกษาเพื่อให้รู้ความต้องการ ความสนใจ และความถนัดของตนเอง ทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพ ตลอดจนความสามารถในการประกอบการงานและอาชีพตามควรแก่วัย โดยปกติใช้เวลาเรี
ยนสามปี
                 (ข) การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามความถนัดและความสนใจ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อหรือการประกอบอาชีพ รวมทั้งการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และทักษะทางสังคมที่จําเป็น โดยปกติใช้เวลาเรียนสามปี
                 การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็นสองประเภท ดังนี้ 
                        1. ประเภทสามัญศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความถนัด ความสนใจศักยภาพ และความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา 
                        2. ประเภทอาชีวศึกษา เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพให้เป็นกำลังแรงงานที่มีฝีมือหรือศึกษาต่อในระดับอาชีพชั้นสูงต่อไป

pngegg - 2023-05-01T103951_edited.png

2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา

........................................

แบ่งเป็นสองระดับ คือ การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา และการศึกษาระดับปริญญา 

           2.1 การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา เป็นการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ และทักษะวิชาชีพในระดับกลาง รวมทั้งมีความสามารถในการริเริ่มประกอบการ 
           
2.2 การศึกษาระดับปริญญา แบ่งเป็นสองระดับ คือ
                 (ก) การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถในสาขาวิชาต่าง ๆ ในระดับสูงโดยเฉพาะการประยุกต์ทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติการริเริ่ม การพัฒนาทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ การสร้างสรรค์ และเผยแพร่ความรู้การริเริ่มการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการส่งเสริมบทบาท
ของประเทศในประชาคมโลก
                 (ข) การศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี เป็นการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้และทักษะในสาขาวิชาการเฉพาะทางให้มีความชำนาญมากยิ่งขึ้น มุ่งสร้างสรรค์ความก้าวหน้าและความเป็นเลิศในทางวิชาการโดยเฉพาะการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีในด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ การประยุกต์ใช้วิทยาการสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพของสังคมไทย

        การจัดการศึกษาตามแนวระบบโรงเรียนอาจจัดเป็นการศึกษาประเภทต่างๆ ได้ตามความเหมาะสมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายชุมชนและประเทศ เช่น การฝึกหัดครู การศึกษาวิชาชีพ การศึกษาวิชาชีพพิเศษ การศึกษาวิชาชีพเฉพาะกิจ หรือเฉพาะบุคคลบางกลุ่ม การศึกษาพิเศษ การศึกษาสงเคราะห์ และการศึกษาเฉพาะทาง เป็นต้น

        การจัดการศึกษาประเภทต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เพียงแต่จัดตามความเหมาะสมหรือเพื่อสนองความต้องการเฉพาะของกลุ่มเป้าหมาย แต่ยังต้องคำนึงถึงการให้บุคคลได้พัฒนา ทั้งในด้านคุณธรรม ความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสมดุลควบคู่กันไปด้วย 

pngegg - 2023-05-01T103938.644.png
pngegg - 2023-02-20T140857.363.png

              1. การฝึกหัดครู เป็นการศึกษาที่มุ่งฝึกหัดและพัฒนาผู้ที่จะประกอบอาชีพครูและครูประจำการให้มีคุณธรรม ความรู้ ความสามารถ และทักษะในการสอน และการกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้มีจิตสำนึกของความเป็นครู มีความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ และเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในด้านความประพฤติ การดำรงชีวิต ตลอดจนการรักษาภาษาและวัฒนธรรมของชาติ มีความใฝ่รู้ มุ่งพัฒนาตนเองและการสอนอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาชุมชน การฟื้นฟู อนุรักษ์เสริมสร้างสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศ 

รูปภาพ2.png

               2. การศึกษาวิชาชีพ เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้และทักษะวิชาชีพให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในการประกอบอาชีพอิสระและรับจ้าง รวมทั้งสามารถดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม การจัดการศึกษาวิชาชีพอาจจัดในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งประเภทในโรงเรียนหรือนอกโรงเรียน การจัดการศึกษาวิชาชีพในระบบโรงเรียนเป็นการพัฒนาความรู้ และทักษะวิชาชีพที่สอดคล้องกับแต่ละระดับของการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา ส่วนการจัดการศึกษาวิชาชีพนอกโรงเรียนเป็นการอบรมวิชาชีพเฉพาะด้านในระยะสั้นสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาความรู้และทักษะเพิ่มเติม

               3. การศึกษาวิชาชีพพิเศษ เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดหรือพัฒนาทักษะวิชาชีพบางด้านที่ต้องการให้มีความชำนาญเป็นพิเศษตั้งแต่เยาว์วัยและต้องฝึกฝนเป็นระยะเวลานาน มีนาฏศิลป์ ดนตรี กีฬา เป็นต้น

การจัดการศึกษา อาจจัดตั้งเป็นสถานศึกษาเฉพาะหรือจัดในหลักสูตรปกติ

               4. การศึกษาวิชาชีพเฉพาะกิจหรือเฉพาะบุคคลบางกลุ่ม เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะวิชาชีพตามความต้องการของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ หรือเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งจัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะ หรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งไม่อาจดำเนินการได้โดยสถาบันการศึกษาปกติ

ในการจัดการศึกษาต้องจัดให้สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาของรัฐด้วย 

               5. การศึกษาพิเศษ เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ได้เรียนรู้ อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย จิตใจ และความสามารถ การจัดการศึกษาพิเศษนี้อาจจัดเป็นสถานศึกษาเฉพาะหรือจัดในสถานศึกษาปกติตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา 

               6. การศึกษาสงเคราะห์ เป็นการศึกษาที่มุ่งจัดให้แก่บุคคลที่รัฐจำเป็นต้องให้การสงเคราะห์เป็นพิเศษ ทั้งนี้ เพื่อมุ่งให้ เกิดความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ยากไร้หรือผู้ที่เสียเปรียบทางการศึกษาในลักษณะต่าง ๆ โดยอาจจัดเป็นสถานศึกษาเฉพาะ หรือจัดรวมในสถานศึกษาปกติก็ได้ตามความเหมาะสม 

pngegg - 2023-04-27T150710.927.png
pngegg - 2023-05-01T155811.610.png

               7. การศึกษาประเภทอื่น ๆ หรือการศึกษาเฉพาะทาง เป็นการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะของหน่วยงานที่จัดการศึกษา เช่น การศึกษาด้านพยาบาล ทหาร ตำรวจ การขนส่ง และโทรคมนาคม เป็นต้น

pngegg - 2023-02-20T140940.042.png
image_edited.jpg

ที่มา : สถิติการศึกษา ประจำปี 2565

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

Academic  Forum

©2023  Academic Forum  โดย กลุ่มพัฒนาการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

bottom of page